วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแต่งกายไปงานศพ


การแต่งกายไปงานศพ
การแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีดำ มีมานานแล้วและเป็นความคิดที่เป็นสากล ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านนั้น แต่ในประเทศอื่น ๆ เช่น จีน และประเทศในโลกตะวันตกก็มีวัฒนธรรมนี้ ถามว่ามีมาแต่เมื่อไหร่ ยังสืบค้นไม่ได้ แต่อย่างน้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 มีประเพณีแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีดำแล้ว ก่อนหน้านั้นถ้าดูจากวรรณคดี ภาพจิตรกรรมและพงศาวดารจะเห็นว่ามีการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีขาว ถ้าเป็นเจ้านายในวัง ข้าในวังจะต้องโกนศีรษะไว้ทุกข์ด้วย ถ้าเป็นเจ้าวังหน้า โกนแต่ข้าในวังหน้า ข้าวังหลวงไม่ต้องโกนศีรษะ ส่วนประเพณีการแต่งกายไว้ทุกข์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีเฉพาะสีดำเท่านั้น ยังมีสึขาวสีม่วงแกและสีน้ำเงินแก่อืกตามศักดิ์ ฐานะและความสัมพันธ์และความรู้สึกระหว่างผู้ตายกับผู้ไว้ทุกข์ คือ
- สีขาว แต่งเมื่อเจ้านายผู้ไปร่วมงานพระศพมีอายุหรือมีฐานานุศักดิ์น้อยกว่าเจ้านายที่สิ้นพระชนม์
- สีดำ แต่งเมื่อเจ้านายผู้ไปร่วมงานพระศพมีอายุหรือมีฐานานุศักดิ์มากกว่าเจ้านายที่สิ้นพระชนม์
- สีน้ำเงิน สีม่วง แต่งเมื่อเจ้านายผู้ไปร่วมงานพระศพไม่ได้มีความใกล้ชิดสนิทสนม มีความสัมพันธ์ห่าง ๆ กับเจ้านายที่สิ้นพระชนม์
ซึ่งตามคตินี้ตามงานศพแต่ก่อน เราจะรู้ได้ว่าผู้มาร่วมงานมีความสัมพันธ์อะไรกับผู้ตาย แต่ว่าในประวัติศาสตร์ก็ยังมีเรื่องยกเว้น คือในสมัยรัชกาลที่ 1ทรงแต่งขาวไว้ทุกข์ ในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนศรีสุนทรเทพ และในสมัยรัชกาลที่ 3 1ทรงแต่งขาวไว้ทุกข์ ในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทั้ง ๆ ที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงพระภูษาดำ เพื่อทรงแสดงว่าทรงรักและลัยในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอยิ่งนักทั้งนี้ประเพณีการแต่งสีดำ ขาว น้ำเงินไว้ทุกข์นี้ ไทยน่าจะรับมาจากจีน ซึ่งก็มีคติว่าสีขาวเป็นสีไว้ทุกข์ใหญ่ สีคราม สีน้ำเงินเป็นสีไว้ทุกข์ที่รองลงมา ดังนั้นจะเห็นว่างานศพชาวจีนในปัจจุบัน ญาติสนิทจะแต่งขาวไว้ทุกข์ ส่วนการแต่งกายไปร่วมงานศพด้วยสี ขาว ดำ น้ำเงิน ยังพอพบได้ในบางกลุ่มชนที่จังหวัดภูเก็ตค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น